กีฬา บาสเกตบอล ( Basketball ) เป็นกีฬาประจำชาติอเมริกัน ถูกคิดขึ้น เพื่อต้องการช่วยเหลือบรรดาสมาชิก Y.M.C.A. ได้เล่นกีฬาในฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวสภาพพื้นภูมิประเทศโดยทั่วๆไป ถูกหิมะปกคลุมอันเป็นอุปสรรคในการเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล คณะกรรมการสมาคม Y.M.C.A.
ได้พยายามหาหนทางแก้ไขให้บรรดาสมาชิกทั้งหลายได้เล่นกีฬาในช่วงฤดูหนาวโดยไม่บังเกิดความเบื่อหน่ายในปี ค.ศ.1891 Dr.James A.Naismith ครูสอนพลศึกษาของ The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมือง Springfield รัฐ Massachusetts
ได้รับมอบหมายจาก Dr.Gulick ให้เป็นผู้คิดค้น การเล่นกีฬาในร่ม ที่เหมาะสมที่จะใช้เล่นในช่วงฤดูหนาวDr.James ได้พยายามคิดค้นดัดแปลงการ เล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอล และ เบสบอล เข้าด้วยกันและให้มีการเล่นที่เป็นทีมในครั้งแรก Dr.James ได้ใช้ลูกฟุตบอลและตะกร้าเป็นอุปกรณ์สำหรับให้นักกีฬาเล่น เขาได้นำตะกร้าลูกพีชไปแขวนไว้ที่ฝาผนังของห้องพลศึกษา
แล้วให้ผู้เล่นพยายามโยนลูกบอลลงในตะกร้านั้นให้ได้ โดยใช้เนื้อที่สนามสำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลงแบ่งผู้เล่นออกเป็นข้างละ 7 คน ผลการทดลองครั้งแรกผู้เล่นได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น แต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกัน ผลักกัน เตะกัน อันเป็นการเล่นที่รุนแรงในการทดลองนั้น
ต่อมา Dr.James ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออกไป และได้ทำการวางกติกาห้ามผู้เล่นเข้าปะทะถูกเนื้อต้องตัวกัน นับได้ว่าเป็นหลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล Dr.James จึงได้วางกติกา การเล่นบาสเกตบอล ไว้เป็นหลักใหญ่ๆ 4 ข้อ ด้วยกัน คือ
- ผู้เล่นที่ครอบครองลูกบอลอยู่นั้นจะต้องหยุดอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนที่ไปไหน
- ประตูจะต้องอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น และอยู่ขนานกับพื้น
- ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลไว้นานเท่าใดก็ได้ โดยคู่ต่อสู้ไม่อาจเข้าไปถูกต้องตัวผู้เล่นที่ ครอบครองบอลได้
- ห้ามการเล่นที่รุนแรงต่างๆโดยเด็ดขาด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่กระทบกระแทกกัน เมื่อได้วางกติกาการเล่นขึ้นมาแล้วก็ได้นำไปทดลอง และพยายามปรับปรุงแก้กไขระเบียบดีขึ้น เขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน จนในที่สุดก็ได้กำหนดตัวผู้เล่นไว้ฝ่ายละ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดกับขนาดเนื้อที่สนาม Dr.James
ได้ทดลองการเล่นหลายครั้งหลายหน และพัฒนาการเล่นเรื่อยมา จนกระทั่งเขาได้เขียนกติกาการเล่นไว้เป็นจำนวน 13 ข้อ ด้วยกัน และเป็นต้นฉบับการเล่นที่ยังคงปรากฏอยู่บนกระดานเกียรติยศในโรงเรียนพลศึกษา ณ Springfield อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ มาฟังกติกากัน ว่ามีกี่ข้อ
กติกา 13 ข้อ ของ Dr.James มีดังนี้
- ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลแล้ววิ่ง
- ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
- ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
- ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองเข้าครอบครองบอล ห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล
- ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือใช้มือดึง ผลัก ตี หรือทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลงไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ 2 ครั้ง หมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำประตูกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน จะไม่มี การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
- ห้ามใช้ขาหรือเท้าแตะลูก ถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง
- ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
- ประตูที่ทำได้หรือนับว่าได้ประตูนั้น ต้องเป็นการโยนบอลให้ลงตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งเกี่ยวกับประตูไม่ได้เด็ดขาด
- เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกบอลออกนอกสนาม ให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้ามาจากขอบสนามภายใน 5 วินาที ถ้าเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และถ้าผู้เล่นฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาอยู่เสมอให้ ปรับเป็นฟาวล์
- ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดฟาวล์ และลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์
- ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดออกนอกสนาม และฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าเล่น และจะทำ หน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาบันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปตามวิสัยของผู้ตัดสิน
- การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งๆละ 20 นาที
- ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ ในกรณีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาออกไป และถ้าฝ่ายใด ทำประตูได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
ประวัติ บาสเกตบอล ในประเทศไทย
กีฬาบาสเกตบอล แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย เป็นครั้งแรกในสมัยใด ปีใดนั้น มิได้มีหลักฐานที่จะปรากฏยืนยันแน่ชัดได้ ทราบแต่เพียงว่า ในปี พ.ศ.2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนที่โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปล กติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2478
กระทรวงธรรมการ ได้จัดการอบรมครูจังหวัดต่างๆจำนวน 100 คน ภายในระยะเวลา 1 เดือน และได้รับความช่วยเหลือจาก พ.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล ผู้ซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญทางการเล่นกีฬาบาสเกตบอลคนหนึ่ง ทั้งได้>เคยเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อครั้งท่านกำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา มาเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคและ วิธีเล่นบาสเกตบอล แก่บรรดาครูที่เข้ารับการอบรม ต่อมาก็เป็นผลทำให้กีฬาบาสเกตบอลแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามแบบอันถูกต้อง โดยจดทะเบียนที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้กลายมาเป็นสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นเอง และในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศ สนามที่ใช้เล่นบาสเกตบอลจะต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นเรียบแข็งปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ ซึ่งสนามที่ใช้แข่งขันโอลิมปิกและชิงแชมเปี้ยนโลกจะต้องมีขนาด ยาว 28 เมตร และกว้าง 15 เมตร
โดยวัดจากขอบในของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ในองค์กรภายใต้การควบคุมของฟีบ้า (FIBA) เช่น คณะกรรมการบริหารของโซน (Zone) ในกรณีการแข่งขัน ระดับโซน และระดับทวีปหรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ ในกรณีการแข่งขันภายในประเทศ
จะมีอำนาจในการรับรองสนามแข่งขันซึ่งมีขนาดตามกำหนดดังต่อไปนี้คือ ความยาวลดลงกว่ามาตรฐานได้ไม่เกิน 4 เมตร และความกว้างลดลงกว่ามาตรฐานได้ไม่เกิน 2 เมตร ทั้งนี้อัตราส่วนของการลดขนาดของสนามต้องเป็นสัดส่วนต่อกัน สนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องมีขนาดตามที่กำหนด
เพื่อใช้แข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า คือ ขนาด 28 x 15 เมตร สำหรับเพดานนั้นให้มีความสูงอย่างน้อย 7 เมตร และพื้นสนามควรได้รับแสงสว่างเพียงพอและทั่วถึงกัน ทั้งนี้ควรติดตั้งโคมไฟโดยมิให้ปิดบังสายตาของผู้เล่นขนาดและพื้นของสนามต้องตรงกับเกณฑ์ที่ระบุไว้ เพื่อใช้แข่งขันระดับสำคัญๆ
ยิ่งที่สำคัญ ของ กีฬา บาสเกตบอล
เส้นขอบสนามของบาสเกตบอล
สนามแข่งขันของบาสเกตบอล ต้องมีเส้นขอบสนามอย่างชัดเจน โดยทุกจุดต้องมีระยะห่างจากคนดู ป้ายโฆษณา หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ อย่างน้อย 2 เมตร เส้นขอบสนามทางด้านยาวมีชื่อเรียกว่า เส้นข้าง และเส้นขอบสนามทางด้านสั้นมีชื่อเรียกว่า เส้นหลัง เส้นต่างๆ ที่กล่าวในข้อนี้ และในข้ออื่นๆ จะต้องเห็นได้อย่างชัดเจน และมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
วงกลมกลาง
วงกลมกลางต้องมีรัศมี 1.80 เมตร และอยู่ที่กลางสนาม ให้วัดรัศมีจากขอบนอกของเส้นรอบวง
เส้นกลาง แดนหน้า และแดนหลัง
เส้นกลางต้องลากให้ขนานกับเส้นหลังจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้าง และต้องยื่นเลยเส้นข้างออกไปอีกข้างละ 15 เซนติเมตร แดนหน้าของทีม คือส่วนของสนามระหว่างเส้นหลังที่อยู่ด้านหลังของห่วงประตูของคู่แข่งขันกับขอบด้านใกล้ของเส้น กลาง สำหรับส่วนที่เหลือของสนามรวมทั้งเส้นกลางคือ แดนหลังของทีม เขตยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนน
เขตยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนน คือส่วนของพื้นสนามที่มีเส้นแสดงเป็นเส้นโค้ง 2 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะเป็นเส้นครึ่งวงกลม ขนาดรัศมี 6.25 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นครึ่งวงกลม ทั้งนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่จุดของเส้นดิ่งที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของ ห่วงประตูลงจดถึงพื้นสนาม และลากเส้นที่ต่อจากปลายเส้นครึ่งวงกลมให้ขนานกับเส้นข้างบรรจบกับเส้นหลัง ระยะห่างระหว่างจุด กึ่งกลางของเส้นหลังวัดจากขอบในไปยังจุดศูนย์กลางของครึ่งวงกลมคือ 1.575 เมตร
เขต 3 วินาที (เขตกำหนดเวลา) เขตโยนโทษ และเส้นโยนโทษ
เขต 3 วินาที คือพื้นที่ในสนามที่มีเขตตั้งแต่เส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นที่ลากจากเส้นโยนโทษไปบรรจบกับเส้นหลังจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังไปสิ้นสุดที่ขอบนอกของเส้นแนวยืนการโยนโทษ ระยะห่าง 3 เมตร
เขตโยนโทษ คือพื้นที่กำหนดที่ต่อจากเขต 3 วินาที เข้าไปในสนามโดยทำครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร และมีจุดศูนย์กลางที่กึ่งกลางของเส้นโยนโทษ ให้ทำครึ่งวงกลมขนาดเดียวกัน แต่ตีเส้นปะเข้าไปในเขต 3 วินาทีด้วย
ช่องยืนตามแนวการโยนโทษ เป็นช่องที่ผู้เล่นยืนขณะมีการโยนโทษ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือเส้นแรกของช่องที่จะต้องอยู่ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 1.75 เมตร วัดตามแนวของเส้นแนวยืนโยนโทษ พื้นที่ของช่องแรกจะมีเส้นกำหนดห่างจากเส้นแรก 85 เซนติเมตร ส่วนช่องที่สองจะอยู่ถัดจากเขตปลอดผู้เล่น (Neutral Zone) ซึ่งมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ส่วนช่องที่สองจะอยู่ถัดจากเขตปลอดผู้เล่น
และมีขนาดกว้าง 85 เซนติเมตร ถัดจากเส้นกำหนดช่องที่สองจะเป็นช่องที่สามซึ่งมีขนาด 85 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน เส้นที่แสดงช่องต่างๆ เหล่านี้มีความยาว 10 เซนติเมตร และกว้าง 5 เซนติเมตรตั้งฉากกับเส้นแนวยืนการโยนโทษ และให้ลากจากขอบนอกของพื้นที่เขตกำหนดเวลา
เส้นโยนโทษ จะต้องลากให้ขนานกับเส้นหลัง โดยมีขอบนอกห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และยาว 3.60 เมตรจุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองเส้นพื้นที่นั่งของทีม พื้นที่นั่งของทีม กำหนด ณ พื้นที่นอกเขตสนามทางด้านเดียวกันกับโต๊ะเจ้าหน้าที่ พื้นที่กำหนดคือเส้นตรงยาว 2 เมตร ที่ลากต่อจากเส้นหลัง และเส้นตรงยาว 2 เมตร ลากจากจุดที่ห่างจากเส้นกลาง 5 เมตร ให้ตั้งฉากกับเส้นข้าง เส้นตรง 2 เมตรจะต้องมีสีแตกต่างจากสีของเส้นข้างและเส้นหลัง